วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

        ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมทั้งเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูล (Information and Communications Technology) มีผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากมาย ที่สำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กลายเป็น "เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้" (Knowledge-based economy)

        
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างฐานความรู้ในสังคม เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมให้ดีขึ้น และยังได้มีการส่งเสริมให้สังคมมีนวัตกรรมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

         เศรษฐกิจในรูปแบบเดิมผ่านมาใช้แรงงานและเงินทุนเป็นปัจจัยหลัก เพื่อใช้การผลิตสินค้า และการจำหน่าย แต่แนวโน้มในอนาคตจะกลายเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเรื่องเหล่านี้เป็น หลัก คือ สารสนเทศ (information) และความรู้ (Knowledge) ในระดับที่สูงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในอดีต ก่อให้เกิดลักษณะเศรษฐกิจแบบใหม่ที่มีคุณสมบัติหลายประการเช่น ก่อให้เกิดผลิตภาพสูง, มีความเปลี่ยนแปลงและผันแปรอย่างรวดเร็ว, มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นในโครงสร้างองค์กร, ทำให้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างประชาคม ไม่ว่าเป็นภาครัฐ, ภาคเอกชน, องค์กรเอกชน และที่สำคัญคือ สารสนเทศและความรู้ มีบทบาทสูงในระบบเศรษฐกิจของการสร้างมั่งคั่ง และงานอาชีพ ประชากรวัยทำงาน (Knowledge Worker)

         ปัจจุบันเริ่มเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเป็นอย่างมาก อาทิ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารการจัดการตลอดจนการส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ หรือเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ต ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

         ดังนั้น เศรษฐกิจของสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ จึงขึ้นอยู่กับ การผลิตการกระจายผลผลิต และการใช้ "สารสนเทศและความรู้" เป็นสำคัญ ซึ่งความรู้และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น