วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารคดีเกี่ยวกับเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์สื่ออิเล็กทรอสิกส์ยุคใหม่ที่เด็กไทยต้องรู้)

หมวดหมู่:หนังสือ
ประเภท:ชีวประวัติและความทรงจำ
ผู้ประพันธ์:คอมพิวเตอร์สื่ออิเล็กทรอสิกส์ยุคใหม่ที่เ
สิ่งหนึ่งในขณะนี้ กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตของเรา และดูเหมือนกำลังจะเข้ามีส่วนสำคัญ และอาจจะเป็นปัจจัยเสริม นอกเหนือจากปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ไป แล้ว คงหนีไม่พ้นเจ้าเครื่องมือไฮเทคโนโลยี หน้าจอสี่เหลี่ยม อย่างเจ้า “คอมพิวเตอร์” ไปได้
คอมพิวเตอร์กำลังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความรู้ความคิดของเยาวชนไทย ให้ก้าวไกลออกไป ซึ่งรัฐบาลก็ให้การส่งเสริมสนับสนุนเป็นอย่างดี โดยหวังให้แต่ละครอบครัว น่าจะมีเจ้าคอมพิวเตอร์นี้ไว้อย่างน้อย 1 เครื่อง ในบ้าน รวมถึงโรงเรียนในชนบทห่างไกล เพื่อให้ลูกหลานของตัวเองได้รู้จักมักคุ้นกับเครื่องมือการสอนสมัยใหม่นี้ มากขึ้น
อาจารย์เยาวลักษณ์ เวชศิริ วิทยากรแกนนำวิชาคอมพิวเตอร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อาจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้ากบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า ก่อนที่จะสอนวิชาคอมพิวเตอร์กับนักเรียนนั้น จะต้องมีการปรับพื้นฐานความรู้ของเด็กนักเรียนก่อน เนื่องจากนักเรียนบางคนยังไม่มีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์มาก่อนเลย
อาจารย์เยาวลักษณ์ กล่าวต่อไปว่า ไม่เพียงแต่วิชาคอมพิวเตอร์จะให้ความรู้ในเรื่องของสิ่งที่ทันสมัยความรู้ ที่นอกเหนือจากที่เรียนในตำราแล้ว คอมพิวเตอร์ยังเป็นสิ่งที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอน ในวิชาต่างๆ ได้ดีอีกด้วย โดยเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนได้รู้จักวิธีการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อให้นักเรียนสามารถนำไปจัดทำสื่อการเรียนเนื้อหาในราย วิชาอื่นได้อีก อย่างเช่น เนื้อหาวิทยาศาสตร์เรื่องอาณาจักรสิ่งมีชีวิต สิ่งมหัศจรรย์ของโลกเป็นต้น โดยรูปแบบที่นักเรียนนำเสนอนั้น จะให้อิสระทางความคิดของนักเรียนเอง ครูมีหน้าที่ในการเสนอแนะแนวทางในเรื่องของการจัดทำโปรแกรมและการปรับปรุง ก่อนมีการนำเสนอเป็นชิ้นงานจริง
“ทุกรายวิชา นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหา รูปแบบการเรียนการสอนและนักเรียนยังจะได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง หลังจากที่ครูได้ให้แนวทางในการจัดทำโปรแกรมนักเรียนมีโอกาสเสนอผลงานหน้า ชั้น และนำผลงานมาปรับปรุงก่อนที่จะนำเสนอ ในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งนักเรียนก็พอใจในผลงานของตนเองที่ได้ทำสื่อการเรียนการสอนในระดับหนึ่ง” อาจารย์เยาวลักษณ์ กล่าว
อาจารย์เยาวลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากจะได้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการประเมินผลไปปรับปรุง แก้ไข ข้อบกพร่องเพื่อประยุกต์ใช้ในห้องเรียนได้แล้ว นักเรียนยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น